การบาดเจ็บข้อเท้าถือเป็นการบาดเจ็บที่มักเกิดขึ้นบ่อยในการเล่นกีฬา ทั้งกีฬาที่ต้องมีการปะทะ เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล รักบี้ หรือกีฬาที่ไม่มีการเข้าปะทะ เช่น เทนนิส หรือ แบดมินตัน เป็นต้น ตามสถิติในอเมริกาแต่ละปีมีผู้บาดเจ็บข้อเท้านับล้านครั้ง
เดิมเราสันนิษฐานกันว่า ข้อเท้าพลิกในจังหวะที่นักกีฬาก้าวออกด้านข้าง แต่จากงานวิจัยพบว่าข้อเท้าพลิกมากที่สุดจากการโดดขึ้นสู่อากาศและลงพื้นอย่างไม่เหมาะสม โดยกีฬาที่ข้อเท้าพลิกบ่อยที่สุดคือบาสเก็ตบอลนั่นเองครับ
ส่วนใหญ่ข้อเท้ามักบิดเข้าด้านใน เพราะโครงสร้างทางการวิภาคศาสตร์และชีวกลศาสตร์ของข้อเกื้อหนุน
ข้อเท้าไม่ค่อยบิดออกนอกได้เองเท่าใดนัก ส่วนมากมักเกิดจากการปะทะ และมักมีกระดูกแตกหักร่วมด้วย
วันนึง ขณะที่กำลังเตะฟุตบอลอยู่นั่นเอง ในจังหวะเข้าบอล ผมถูกศูนย์หน้าเข้าชาร์จและเสียบเข้าที่ข้อเท้าอย่างจัง ข้อเท้าบิดเสียงดังผึง ผมค่อยๆตะเกียกตะกายออกไปข้างสนาม ข้อเท้าร้อนแปล้บๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องสำรวจความเสียหายซะก่อน ตามความรุนแรงดังนี้ระดับ 1 ปวดและบวมเล็กน้อย ลงน้ำหนักได้หรือเล่นต่อได้ แบบเจ็บๆ (เอ็นฉีกขาดระดับเส้นใยเล็กๆ)
ระดับ 2 ปวดและบวมปานกลาง เล่นต่อไม่ได้ เดินลงน้ำหนักได้ยากลำบาก (เอ็นฉีกขาดระดับบางส่วน)
ระดับ 3 ปวดมาก บวมมาก เดินลงน้ำหนักไม่ได้เลย หรือเดินได้ไม่ถึง 5 ก้าว รู้สักไม่มั่นคงอย่างมาก (เอ็นฉีกขาดโดยสมบูรณ์ หรือมีกระดูกแตกหัก)
แม้ตอนถูกเสียบจะรู้สึกว่าเอ็นบิดจนมีเสียง แต่ผมพบว่าผมยังลงน้ำหนักได้ ผมค่อยๆเดินเขย่งไปยังถังน้ำแข็ง ของน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกมาประมาณหนึ่งกำมือ ถ้าไม่มีถุงคุณอาจเอาน้ำแข็งใส่ถุงเท้าก็ได้ (หากคุณบาดเจ็บระดับ 2 ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะระดับ 3 ควรไปห้องฉุกเฉินเพื่อพบแพทย์โดยเร็วครับ)
ขาควรจะยกสูงสักหน่อย
โดยคร่าวๆ น้ำแข็งจะช่วยลดความปวด ลดการบวม ชลอการไหลของเลือดที่ออกในส่วนที่บาดเจ็บ(เลือดที่ออกด้านใน หรือช้ำในนั่นเอง คุณห้ามใช้น้ำแข็งหากมีแผลเปิดครับ) ผมเอาถุงน้ำแข็งมาประคบที่ข้อเท้า พร้อมกับนอนหงายยกขาสูงขึ้น (คล้ายๆท่ากางมุ้ง) โดยเอาขาชันกับเสาแถวๆนั้น
ติดเทปที่ข้อเท้ามีประโยชน์ทั้งช่วยกันไม่ให้ข้อบิดเพิ่มขึ้น และลดบวมได้ด้วย ควรพันอันเดอร์แรปก่อนถ้าไม่อยากถอนขนหลังดึงออกครับ
ผ่านไป 5 นาที อาการเริ่มดีขึ้น ความเจ็บปวดกลายเป็นความรู้สึกเย็นชา ผมขยับมานั่งทีโต๊ะ ซื้อเทปผ้าล็อคมา 1 ม้วน (80 บาท) ค่อยๆบรรจงติดตามวิธีล็อคข้อเท้า เพื่อลดการบวมนั่นเองครับ (หมดประมาณครึ่งม้วน) ทำแบบนี้จะทำให้หายเร็วขึ้น คืนนั้นผมนอนยกขาสูง เช้าวันต่อมาก็พยายามเดินตามปกติเท่าที่ไม่เจ็บ
ถ้าจะบวมขนาดนี้ ควรไปห้องฉุกเฉินดีกว่าครับ เห็นไว้ว่าบริเวณที่บาดเจ็บบวมชัดเจน
ข้อเคลื่อนได้มากกว่าปกติ
มีกระดูกเท้าที่บิดหรือโปนผิดปกติ
ลงน้ำหนักไม่ได้บริเวณข้อเท้าที่พลอกหลังจาก 24 ชั่วโมงหลังบาดเจ็บ
ลงน้ำหนักได้ยากหลังจากผ่านไปสี่วัน
ปวดมาก ช้ำหรือบวมมากอย่างชัดเจนอยู่
นิ้วหรือส่วนที่ต่ำกว่าได้รับบริเวณที่พลิกมีการชาหรือเย็นกว่าปกติ
สำหรับผมเองวันที่สองก็เดินได้ปกติ อาจเจ็บในบางจังหวะแต่น้อยมากวันละครั้งเท่านั้น ระหว่างนี้พยายามยืดข้อเท้าให้ได้เต็มที่ พอผ่านไป 14 วันก็เริ่มวิ่งเบาๆ ก่อนกับมาเล่นได้ในวันที่ 20 โดยผมยังติดเทปอยู่ แต่ใช้เทปแบบยืดได้แทน หลังจากนั้นก็ฝึกกล้ามเนื้อเท้าและขาแบบเพิ่มความแข็งแรงต่ออีกเดือนครับ
บางคนอาจเหมาะกับเครื่องพยุงเท้าในช่วงแรกของการบาดเจ็บ แต่ในระยะยาวการออกกำัลังและบริหารข้อคือคำตอบครับ
แนวคิดโดยทั่วไปในการฟื้นฟูหลังบาดเจ็บก็ควรเริ่มจากการเคลื่อนที่ในแนวตรงก่อน เช่น วิ่งเยาะๆไปด้านหน้า วิ่งถอยหลัง ก่อนขยับเป็นวิ่งก้าวทางด้ายข้าง ส่วนการเคลื่อนที่แบบหมุนหรือตัดเฉียงควรทำเสริมเมื่อนักกีฬาไม่มีอาการเจ็บเท่านั้น (เอาวิ่งแนวตรงๆให้ไม่เจ็บก่อน)
แนวทางการกลับไปเล่นได้ในช่วงที่เนื้อเยื่อกำลังซ่อมแซม เมื่อ (ในสามวันจนถึงสองสัปดา์ห์หลังบาดเจ็บ)
ขยับข้อเท้าได้เต็มช่วงโดยไม่มีการปวด
ไม่มีการปวดบวม
ความแข็งแรงของข้อเท้ากลับคืนมา 70-80%
ยืนหลับตาบนขาข้างเดียวได้ 30 วินาทีขึ้นไป
แนวทางการกลับไปเล่นได้ในช่วงฟื้นฟูสมรรถภาพ เมื่อ (ในสองถึงหกสัปดา์ห์หลังบาดเจ็บ)
องศาการเคลื่อนของข้อเท้าเป็นปกติ
ไม่มีการปวดบวม
ผ่านการตรวจร่างกายทางคลีนิค
ความแข็งแรงของข้อเท้ากลับคืนมา 90%
ผ่านการทดสอบในการกีฬาชนิดนั้นๆทั้งหมดโดยไม่มีอาการ
กายภาพบำับัดในช่วงฟื้นฟูเน้นเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า เพิ่มมุมการเคลื่อนไหว โดยใช้ หรือไม่ใช้อุปกรณ์ต่างๆ
แนวการฝึกแบบ functional แบบครบๆไปลองเล่นดูได้ครับ
เนื่องจากความเสียหายที่เกิดจากพลิกไม่ได้มีเฉพาะเอ็นข้อเท้าอย่างเดียว เส้่นประสาทบริเวณนั้นก็อาจเสียหายด้วย คุณจะพบว่าเราอาจจะข้อเท้าพลิกซ้ำได้อีก ในช่วงสองถึงสามเดือนหลังจากนั้น ท่าในการบริหารเพื่อฟื้นฟูข้อเท้าจึงควรเพิ่มการฝึกสมดุลเข้าไปด้วย
การตรวจประเมินแบบนี้ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มได้ หากทีมท่านมีนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ประจำทีม ก็ควรเข้าปรึกษาเพื่อขอรับการตรวจประเมินและรักษาอย่างเฉพาะทาง เพื่อความรวดเร็วในการกลับไปเล่นอีกครั้ง
ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง รองเท้า พื้นสนาม มีส่วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ
หวังว่าจะพอมีประโยชน์บ้างสำหรับใครที่ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแข็งแกร่งได้ หากเราเอาใจใส่ พบกันโอกาสหน้า ขอบคุณครับ
เร่งเนื้อเยื้อให้ซ่อมแซมตัวเองอย่างรวดเร็วโดยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด
ผมเป็นมาประมาน1oวันละครับแต่ยังเจ็บๆอยู่นิดๆ
ตอบลบหายเร็วๆนะครับ
ลบ